‘เพราะคนในพื้นที่คือหัวใจสำคัญของการพัฒนา’ ถอดบทเรียนจากเวิร์กชอป Training of Trainers for Social Innovation and Social Enterprise Localization

แปลจากบทความภาษาอังกฤษเขียนโดย Haidy Leung จาก ChangeFusion

ภาพถ่ายโดย: ณัฏฐา อังสิทธิ์

เวิร์กชอป Training of Trainers (ToT) for Social Innovation and Social Enterprise Localization ถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18-20 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา โดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับ ChangeFusion และมี Tandemic เป็นผู้นำกระบวนการ มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 30 คน จากทั่วทั้ง 4 ภูมิภาคของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ อุดรธานี ขอนแก่น เลย พะเยา นครศรีธรรมศรีราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

tot-01.jpg

ที่มาที่ไป

เมื่อปีที่แล้ว UNDP ได้ให้ ChangeFusion จัดทำรายงานการลงทุนทางสังคมและภูมิทัศน์นวัตกรรมการเงินในประเทศไทย (Social Impact Investment and Innovative Finance Landscape Mapping Report) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาช่องว่างและโอกาสในการลงทุนทางสังคม ที่จะสามารถพัฒนาและขยายนวัตกรรมสังคมและความเป็นผู้ประกอบการทางสังคมออกไปในวงกว้าง ซึ่งหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญก็คือการสนับสนุน ‘นักสร้างการเปลี่ยนแปลง’ หรือ changemaker ในท้องถิ่น การพัฒนาแบบกระจายอำนาจ เช่น การจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะในพื้นที่ (local incubation hub) และการสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายผู้ประกอบการทางสังคมที่เน้นแฟ้น จะช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์รวมในประเทศเร็วขึ้น และทำให้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) บรรลุผลได้ตั้งแต่ในระดับรากหญ้า

ปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะมีโครงการบ่มเพาะ (social imcubation program) เกิดขึ้นมาจำนวนมาก แต่การจัดกิจกรรม การสนับสนุน การให้ความรู้ หรือการรวมตัวกันในด้านนวัตกรรมสังคมและความเป็นผู้ประกอบการทางสังคมยังคงกระจุกตัวอยู่เพียงแค่ในกรุงเทพฯ ระยะทางยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนที่มีความสามารถในจังหวัดอื่น ๆ ไม่สะดวกในการเดินทางมาเข้าร่วม นอกจากนี้ เนื้อหาหรือการดำเนินกระบวนการบางอย่างที่ใช้ในกรุงเทพฯ อาจจะไม่เหมาะสมที่จะใช้กับบริบทของพื้นที่อื่นๆ

อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลความรู้ วิธีการ และกระบวนการดี ๆ อีกมากจากผู้บ่มเพาะในปัจจุบันที่สามารถแบ่งปันกับนักสร้างการเปลี่ยนแปลงในท้องถิ่นได้ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ก่อนที่จะจัดเวิร์กชอป ToT ในครั้งนี้ UNDP ได้นำองค์กรที่มีประสบการณ์ทำงานด้านการบ่มเพาะทางสังคม ทั้ง ChangeFusion School of Changemaker SEED Good Factoty และอื่น ๆ อีกมากมายมาเจอกัน เพื่อแสดงความคิดเห็น แบ่งปันประสบการณ์ และพูดคุยเกี่ยวกับข้อมูลเชิงลึก วิธีการ และเครื่องมือที่ใช้ต่าง ๆ ซึ่งเครื่องมือเหล่านั้นก็ได้ถูกรวบรวมออกมาเป็น ‘The Social Incubation Playbook’ และนำมาใช้ในเวิร์กชอปเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบการพัฒนาโครงการบ่มเพาะของผู้เข้าร่วมแต่ละคน

tot-03.jpg

เกิดอะไรขึ้นใน 3 วันของการเวิร์กชอบ?

วันที่ 1:

เริ่มต้นจากพื้นฐานที่สำคัญที่สุด ผู้เข้าร่วมเรียนรู้การประมวลผล วิเคราะห์ และแยกแยะข้อมูลต่าง ๆ จากกลุ่มเป้าหมาย (ผู้ที่จะรับการบ่มเพาะ) เพื่อทำความเข้าใจถึงแรงบันดาลใจในชีวิตและความต้องการที่แท้จริงของเขา

tot-04.jpg
tot-05.jpg

วันที่ 2:

หลังจากที่ได้โจทย์ปัญหาที่ชัดเจนแล้ว ผู้เข้าร่วมก็เรียนรู้วิธีการะดมสมอง คิดไอเดีย และพัฒนาต้นแบบจำลอง (prototype) โดยมีการใช้การเล่นบทบาทสมมติ (Role Play) เพื่อทดสอบต้นแบบของแต่ละทีม

tot-06.jpg
tot-07.jpg

วันที่ 3:

ผู้เข้าร่วมได้ทดลองออกแบบแผนโครงการให้มีความยั่งยืน รู้จักวิธีการหารายได้ การสื่อสาร และการวัดผลกระทบทางสังคม ตามด้วยการสะท้อนความคิดเกี่ยวกับประสบการณ์และการเรียนรู้ที่ผ่านมาทั้งหมดว่าจะสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละคนได้อย่างไร

tot-08.jpg
tot-09.jpg

สิ่งที่เราได้เรียนรู้และเสียงสะท้อนจากผู้เข้าร่วมโครงการ

1. กลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าไปสนับสนุนและบ่มเพาะในพื้นที่อาจเป็นได้ทั้งนักกิจกรรมสังคม นวัตกรสังคม ผู้ประกอบการทางสังคม หรือทั้ง 3 แบบรวม ๆ กันก็ได้

ทุกคนมีอิสระในการเลือกกลุ่มเป้าหมายของตนเองตามความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ อย่างไรก็ตาม หากต้องการที่จะบ่มเพาะกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ตรงกับความเชี่ยวชาญ หรือไม่เคยมีประการณ์ในด้านนั้น ๆ มาก่อน ก็ต้องหาความร่วมมือจากผู้ที่จะช่วยเราได้ เช่น หากต้องการบ่มเพาะผู้ประกอบการทางสังคม แต่พื้นหลังความถนัดของเราเป็นนักกิจกรรมสังคมมาโดยตลอด เราอาจต้องหาพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทำธุรกิจมาเติมเต็มช่องว่างที่ขาดไป

2. เครื่องมือที่รวมรวบมีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้จริง

ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่พบว่าเครื่องมือที่ช่วยสกัดข้อมูลเชิงลึกมีประโยชน์มากกับการทำงานพัฒนา เนื่องจากมันทำให้เข้าใจทั้งความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ขึ้น ซึ่งโดยมากก็จะเป็นกลุ่มเยาวชนและนักเรียนในพื้นที่ เครื่องมือและเทคนิคต่าง ๆ ที่สอนในเวิร์กชอปยังช่วยในการสะท้อนสิ่งที่ทำ กับเป้าหมายการสร้างการเปลี่ยนแปลงของตัวเอง และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่

3. ต้องนำเครื่องมือไปปรับใช้และลองทำซ้ำไปวนมาบ่อย ๆ ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่นั้น ๆ

การใช้เครื่องมือใน playbook ให้ได้ผล ผู้ใช้ต้องรู้จักเอาไปทดลองทำบ่อย ๆ ซ้ำไปซ้ำมา และค่อย ๆ ปรับให้เหมาะกับความต้องการ เพื่อที่จะหาวิธีการพัฒนาที่มีประสิทธิมากที่สุด

4. มีโอกาสอย่างมากที่จะจัดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (cross-learning session) กันได้ในอนาคต

แม้ผู้เข้าร่วมในครั้งนี้จะมาจากหลากหลายพื้นที่ มีที่มาที่ไปที่ต่างกัน แต่ว่าแต่ละคนก็มีประสบการณ์และพบเจอปัญหาที่คล้ายกันหลายอย่าง เพียงแค่ต่างบริบทกันเท่านั้น ตัวอย่างเช่น จังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีอาณาเขตใกล้กับประเทศลาวและเวียดนาม กับ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความคลายคลึงกันในเรื่องของความหลากหลายทางวัฒนธรรม และความเป็นไปได้ในการสร้างความร่วมมือข้ามพรมแดน เป็นต้น ผู้เข้าร่วมเห็นว่าเป็นการดีที่จะจัดเวิร์กชอปขึ้นอีกครั้งเพื่อติดตามผลหลังจากที่แต่ละคนได้ลองกลับไปประมวล ทดลอง และริเริ่มโครงการของตัวเอง เพื่อนำกลับมาแบ่งปันประสบการณ์การเรียนรู้นั้น และหาโอกาสในการทำงานร่วมมือกันระหว่างภูมิภาค

SESunit Shresthaincubator